กิ่งพันธุ์ส้มโอขาวใหญ่

กิ่งพันธุ์ส้มโอขาวใหญ่

รหัสสินค้า:S002
สถานะสินค้า:มีสินค้าในสต็อก
ราคา: ราคาส่ง 35 บาท
จำนวน:     - OR -   Add to Wish List


จำหน่ายกิ่งพันธุ์ส้มโอขาวใหญ่ 0810237102 (คุณสุธิ)

กิ่งพันธุ์ส้มโอขาวใหญ๋ขายส่งกิ่งละ 35 บาท

กิ่งพันธุ์ส้มโอขาวใหญ๋ขายปลีกกิ่งละ 60 บาท

 

การปลูก

ปลูกแบบยกร่องกว้าง 8 เมตร ยาว 40 เมตร ร่องกว้าง 8 เมตร เกิดจากการรวม 2 ร่อง  ซึ่งเป็นร่องเก่าให้เป็นร่องเดียวกันโดยใส่พวกเศษไม้ และดินลงในท้องร่องไม่นานก็จะรวมเป็นร่องเดียวกัน เทคนิคนี้คุณสมทรงพบว่าต้นส้มจะเจริญเติบโตมากกว่าส้มที่ปลูกแบบร่องเดียวที่ไม่รวมร่อง  ซึ่งจะกว้างประมาณ 3.5 เมตร ที่เจริญเติบโตมากกว่าเนื่องจากรากสามารถไปหาอาหารได้ไกลกว่า ระยะปลูกครั้งแรกใช้ระยะ 10 เมตร ปรากฎกว่าผลส้มถูกแดดเผาเสียหายโดยผิวส้มจะแห้ง  เนื่องจากอากาศร้อนมาก ๆ ต่อมาได้ทดลองปลูกระยะ 6 เมตร พบว่าเป็นระยะที่ดีที่สุด และนำทองหลางมาปลูกริมร่องระหว่างต้นส้มเพื่อช่วยบังแดด

การให้ปุ๋ย

มีการให้ปุ๋ยปีละ 4 ครั้ง การให้ปุ๋ยจะคำนึงถึงส้มรุ่นที่ให้ผลมากที่สุดคือ ส้มปีจะออกดอกและติดผลในเดือนธันวาคม-มกราคม และเก็บผลเดือนสิงหาคม  เมื่อเก็บผลรุ่นแรกหมดแล้วในเดือนกันยายน  พอถึงเดือนตุลาคมจะใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือ 16-16-16 ต้นละ 1 กิโลกรัม  เมื่อใส่เสร็จปล่อยน้ำออกจากสวนจนหมดและโกยเลนที่มีใบทองหลางเป็นหลักขึ้นมากลบปุ๋ย  การโกยเลนจะโกยเพียงปีละ 1 ครั้ง เลนที่โกยขึ้นมาจะหนาประมาณ 30 ซม. ใช้พลั่วสำหรับโกยเลนสาดไปบนร่องและจะใช้มือปรับระดับให้เรียบเป็นอันเสร็จ  การโกยเลนจะต้องโกยทุกปีจะเว้นไม่ได้เลย เพราะจะทำให้เลนแข็งและส้มไม่ชอบช่วงเวลานี้ส้มกำลังกินอาหารคือปุ๋ยที่ใส่ลงไปเพื่อสะสมอาหารเตรียมตัวที่จะออกดอกออกผลต่อไป เมื่อเลนแห้งแล้วยังไม่ต้องรดน้ำ ทำการกักน้ำคือทำให้ส้มอดน้ำต่อจากนี้ไปประมาณ 2-3 สัปดาห์  จะสังเกตเห็นใบแก่ใบที่เป็นโรคร่วงและใบที่เหลืออยู่จะเหี่ยวดินจะแตกระแหงจึงทำการปล่อยนำเข้าสวนและให้น้ำทันที  โดยใช้สายยางรดน้ำเพื่อให้ดินเปียกและเว้นระยะให้ดินแห้ง ทำการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 สูตร 16-16-16 ต้นละ 1 กิโลกรัม ทำการรดน้ำทุกวันเพื่อให้ปุ๋ยละลายประมาณ 1-2 สัปดาห์ ส้มรุ่นแรกจะเริ่มออกดอกพอส้มรุ่นนี้อายุ 3 เดือน ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 สูตร 16-16-16 ต้นละ 1 กิโลกรัม และใส่ปุ๋ยครั้งที่ 4 สูตร 13-13-21 เมื่อผลส้มอายุได้ 5 เดือนต้นละ 1 กิโลกรัม  เช่นเดียวกันจะทำให้ส้มมีคุณภาพดีอายุตั้งแต่ออกดอกจนกระทั้งเก็บผลประมาณ 8-9 เดือน เก็บผลขายได้ตรงกับเดือนสิงหาคม-กันยายน เป็นระยะเวลาที่ส้มราคาดี  เนื่องจากเป็นเทศกาลสาร์ทจีนและไหว้พระจันทร์จะได้ราคา 25 บาทต่อกิโลกรัม หรือสูงกว่านี้ ส้มรุ่นที่ 2 ซึ่งมีมากรองลงมาจะเก็บผลได้ในราวเดือนธันวาคม-มกราคม ส่วนส้มรุ่นที่ 3 มีน้อยเก็บผลได้ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน ส้มแต่ละรุ่นจะได้ราคาดีตลอดเนื่องจากส้มพันธุ์นี้เป็นที่ต้องการของตลาดการทยอยไว้ส้ม 3 รุ่นต่อปีนั้นดีกว่าไว้ครั้งเดียวเนื่องจากต้นจะไม่โทรมมากส่วนปุ๋ยทางใบและฮอร์โมนนั้นไม่เคยนำมาใช้

การใส่เกลือ

มีการนำเกลือมาใช้กับต้นส้มโอเพื่อปรับปรุงคุณภาพส้มโอให้ดีขึ้น เนื่องจากส้มรุ่นที่ 2 ซึ่งเก็บผลในราวเดือนธันวาคมคุณภาพไม่ดีเลย  จะฟ่ามเป็นประจำคือส่วนหัวของผลจะเป็นอาการที่เรียกว่าข้าวสาร ทำให้รสชาติไม่ดี จึงได้นำเกลือมาใส่ต้นละ 1 กระป๋องนมโรยรอบ ๆ ต้น เกลือที่ใช้ต้องซื้อเกลือในส่วนที่ติดกับดิน  ซึ่งออกสีดำ พบว่าเหมาะต่อการใช้และมีราคาถูก จะใส่ในเดือนตุลาคมก่อน การโกยเลนและการใส่ปุ๋ยครั้งแรก ถ้าฝนตกก็ไม่ต้องรดน้ำ  ซึ่งเกลือจะละลายหมดเร็ว

การให้น้ำ

ต่อแป๊บน้ำกึ่งกลางร่องแต่ละร่องจะทำก๊อกเปิดปิดทำการสูบน้ำ  โดยใช้มอเตอร์ผ่านไปตามแป๊บน้ำ และใช้สายยางต่อฉีดทีละร่องในฤดูแล้งรดน้ำมากหน่อย  โดยสังเกตดูหากดินแห้งทำการรดน้ำ  ส่วนในฤดูฝนเมื่อฝนไม่ตกหลายวันจึงทำการรดน้ำ

การจัดการวัชพืช

ในอดีตนั้นเคยใช้สารกำจัดวัชพืช เมื่อสังเกตเป็นประจำพบว่าร่องที่ใช้สารเมื่อเปรียบเทียบกับร่องไม่ใช้สารผลปรากฎว่าร่องใช้สารต้นไม่ค่อยเจริญเติบโต  รากส้มที่ผิวดินนั้นเป็นสีดำ ทำให้ดูดอาหารได้ไม่เต็มที่  ตั้งแต่เวลานั้นมาจนถึงปัจจุบันไม่ใช้สารกำจัดวัชพืชอีกเลย แต่ทำการกำจัดวัชพืชโดยใช้เครื่องตัดหญ้าแทนการใช้สารเคมี  ส่วนในฤดูแล้งประมาณ 2 เดือนครั้ง  เพื่อเก็บความชุ่มชื่นให้แก่ดิน

 

การตัดแต่งกิ่ง

 

ตัดแต่งกิ่งปีละ 3 ครั้ง เมื่อเก็บผลแต่ละรุ่นเสร็จทำการตัดแต่งกิ่งทันที โดยตัดกิ่งแห้งออกให้หมด โดยเฉพาะต้นกาฝากต้องหมั่นตรวจดู เมื่อพบต้องรีบตัดออกทันที มิฉะนั้นจะทำให้ส้มชะงักการเจริญเติบโต

 

การจัดการศัตรูพืช

 

ศัตรูพืชที่พบมี หนอนชอนใบส้ม (Phyllocnistix citrella Stainton) พบน้อยมากจากการสังเกตใบชุดนี้ ซึ่งเป็นใบเพสลาดแล้ว แต่ใบก็ยังปกติดี  มีร่องรอยการทำลายน้อย

หนอนฝีดาษส้ม (Prays sp.) ทำลายผลส้มทำให้เป็นปุ่มปม พบความเสียหายประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์  ผลที่ถูกทำลายยังขายได้แต่ราคาถูกลง  โดยเฉพาะร้านขายอาหารชอบมาซื้อ เพราะว่าต้องเอาใบแกะเปลือกทำให้ได้กำไรเพิ่มขึ้น  เพลี้ยไฟพริก (Scirtothrips dorsalis Hood)ทำลายผลอ่อนโดยดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้แผลตกสะเก็ดสีเทา ไรสนิมส้ม (Phyllocoptruta oleivora(Ashmead) ทำลายผลโดยดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ผิวของผลเป็นสีน้ำตาลไม่งดงาม  ผลเล็กเมื่อถูกทำลายมากผลจะแคระแกร็น ไรขาวพริก(Polyphagotarsonemus latus(Banks) ทำลายผลอ่อนโดยดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้เป็นแผลสีเทา  เป็นแบบร่างแห  ถ้าถูกทำลายทั้งผลต้องปลิดทิ้ง  เพราะว่าจะแคระแกร็น  ถ้าถูกทำลายเป็นบางส่วนยังคงเจริญเติบโตต่อไปได้  แต่ผลจะมีน้ำหนักเบา มีเนื้อน้อย เปลือกหนา แต่ขายได้โดยมีแม่ค้าจากเพชรบุรีชอบซื้อนำเอาเปลือกไปเชื่อมขาย  โรคที่พบคือโรคราดำ (sooty mold) เกิดจากเชื้อราเมลิโอลา (Meliola sp.) หรือแคปโนเดียม (Capnodium citri B Pesm.) เชื้อราขึ้นปกคลุมได้ทั้งบนใบ ผลและกิ่งส้ม ทำให้ใบสังเคราะห์แสงได้น้อยลง  ทำให้ผลสกปรก โรคแคงเกอร์ (canker) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียแซนโธโมแนส (Xanthomonas campestris pv citri (Hassel Dyr) อาการที่เกิดจะเห็นเป็นแผลสีน้ำตาลและจะนูนเกิดขึ้นที่ใบ ผลและกิ่งส้ม ทำให้ใบและผลร่วงซึ่งมีผลต่อผลผลิต  โรคนี้พบในสวนส้มโอที่ยังเล็กอายุ 2 ปี  จัดการโดยตัดกิ่งและนำใบที่ร่วงไปเผาไฟ  ส่วนส้มโออายุ 15 ปี ไม่พบอาการของโรค การทำลายของแมลง ไรและโรคไม่รุนแรงจนทำให้ต้องใช้สารเคมี แต่จากการสำรวจพบแมงมุมชนิดต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวห้ำ (predator) กินหนอนชอนใบส้ม เพลี้ยไฟและไร มีปริมาณประชากรค่อนข้างสูง